หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

การตรวจสอบอาคารระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

การตรวจสอบอาคารระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
Building Inspection in term of Fire Safety Codes and Regulation

อนุชิต แก้วกลึงกลม
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
E-mail : tu_07@hotmail.com

บทคัดย่อ
       การตรวจสอบอาคารตามกฎหมายโดยภาพรวมควรมีระบบโครงสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับการใช้งาน ระบบไฟฟ้ามีแสงสว่างเพียงพอ ระบบลิฟต์ต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบไฟฟ้าสำรองของอาคารควรที่จะมีการปรับปรุงให้มีการใช้งานอย่างเหมาะสมกับอาคาร ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ทุกอาคารมีสัญญาณเตือนเพลิงไหม้เหมาะสม ระบบดับเพลิงในอาคารมีท่อสายยางดับเพลิงที่เห็นได้ชัดเจน ระบบปรับอากาศมีท่อปรับอากาศที่ไม่มีการรั่วซึมของท่อลม และระบบบำบัดน้ำเสียในอาคารมีการบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำการตรวจสอบอาคารด้านความปลอดภัยของอาคารสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

Abstract
        Building Inspection legal system as a whole should have a strong structure suitable for use. Electrical lighting is adequate. Elevator systems require monitoring and maintenance for the purpose of use. Backup power system of the building should be updated to properly use the building. Fire alarm system. All building fire alarm is appropriate. Fire suppression systems in buildings with fire hoses, pipes that obvious. Air conditioning system with air conditioning pipes without leakage of air pipes. And wastewater in the wastewater treatment building. Before release into the river and building safety audit of the building can be used safely.

Keyword : Building Inspection, Fire Safety Codes and Regulation

1. บทนำ
       เมื่อสังคมมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ความเจริญต่างๆ ก็ต้องขยายตัวขึ้นเช่นกันกลายเป็นมหานครใหญ่ที่เต็มไปด้วยอาคารต่างๆ เช่น สำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารชุดพักอาศัย อพาร์ตเมนต์ โรงภาพยนตร์ ฯลฯ หลายครั้งที่เราต้องประสบกับเหตุการณ์อันน่าเศร้าใจ ที่เกิดขึ้นในอาคารสาธารณะต่างๆ เหล่านี้ อาคารสาธารณะ คืออาคารที่มีคนเป็นจำนวนมากเข้าไปใช้ในแต่ละวัน ดังนั้น ความปลอดภัยและความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด ไม่ว่าอาคารเหล่านั้นจะเป็นอาคารประเภทใดหรือมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่ แตกต่างกันก็ตามจะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดทางด้านการป้องกันอัคคีภัยอันเป็นข้อกำหนดส่วนที่สำคัญที่สุดในการออกแบบอาคาร ข้อกำหนดบทแรกๆใน Architectural Building Codes ก็คือ Fire Safety Codes and Regulation โดยการออกแบบของอาคารเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้อาคารปลอดภัย หากเริ่มออกแบบด้วยหลักการที่ถูกต้องอาคารก็จะปลอดภัยด้วยตัวของมันเอง แต่หากเริ่มต้นไม่ดีก็จะทำให้อาคารนั้นเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและเกิดการสูญเสียมากกว่าที่ควร

2. กฎหมายควบคุมอาคาร
      พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จุดประสงค์ของกฎหมายควบคุมอาคารและเขตพื้นที่ควบคุม กฎหมายควบคุมอาคารใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ที่มีความเจริญและมีการก่อสร้างอาคารแน่นหนา ซึ่งในท้องที่ใดจะประกาศให้เป็นเขตควบคุมอาคารจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งกฎหมายควบคุมอาคารจะดูแลในเรื่องความมั่นคงแข็งแรงความปลอดภัยและการป้องกันอัคคีภัยของอาคารโดยเฉพาะอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และอาคารสาธารณะระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่บัญญัติไว้ในกฎหมายควบคุมอาคารตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ไฟไหม้ มักมีสาเหตุมาจากการสำลักควันไฟมากกว่าจากความร้อนของเปลวเพลิง ดังนั้นจุดประสงค์หลักในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยไม่เพียงแต่จะเน้นในด้านของการดับไฟ แต่ยังคงมีเรื่องของเส้นทางเพื่อใช้ในการอพยพและป้องกันไม่ให้ควันและไฟลุกลามหรือแพร่กระจายสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการเกิดอัคคีภัยในอาคารสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรรู้คือ เรื่องของการหนีไฟและการระงับอัคคีภัยในอาคารสูง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเอาใจใส่และเตรียมความพร้อมเป็นพิเศษ

3. ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารสูง
3.1 ความหมายของอาคารสูงและที่ว่างโดยรอบอาคาร
      อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตร หรือประมาณ 7 ชั้น ต้องจัดให้มีความกว้างของผิวการจราจรโดยรอบอาคารไม่ต่ำกว่า 6 เมตร เพื่อความสะดวกในยามที่เกิดเพลิงไหม้รถดับเพลิงและรถกู้ภัยต่างๆ จะเข้าไปควบคุมเพลิงและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้อย่างทันท่วงที
3.2 การติดตั้งแผนผังในตัวอาคาร
      องติดตั้งแผนผังในแต่ละชั้นของอาคารที่ระบุถึงตำแหน่งของห้องทุกห้องเส้นทางหนีไฟ ตู้สายฉีดน้ำ อุปกรณ์ดับเพลิง และลิฟท์สำหรับพนักงานดับเพลิงอย่างชัดเจน
3.3 ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง
      ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง ต้องแยกเป็นอิสระจากระบบอื่นๆ เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้ ไฟสำรองจะส่งไฟไปยังระบบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการดับเพลิงและการหนีไฟได้นานกว่า 2 ชั่วโมง และจำเป็นต้องมีไฟสำรองตลอดเวลาสำหรับเครื่องสูบน้ำ ลิฟท์ดับเพลิง ห้อง ICU และระบบสื่อสาร
3.4 ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้
      อาคารสูงจำเป็นจะต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ตัว คือ Detector ซึ่งเป็นตัวจับควันหรือความร้อนที่ผิดปกติ และ Alarm ซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณในลักษณะของแสงหรือเสียง
3.5 เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
  ติดตั้งถังดับเพลิงทุกชั้นของอาคารเพื่อการควบคุมเพลิงเบื้องต้นและต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติอย่าง Sprinkle system
3.6 ระบบเก็บน้ำสำรองและสายล่อฟ้า
      ระบบเก็บน้ำสำรองสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการดับเพลิงแก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ ส่วนสายล่อฟ้าจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากฟ้าผ่า
3.7 บันไดหนีไฟในอาคารสูง
      อาคารสูงทุกๆแห่งต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดลดลงสู่พื้นดินอย่างน้อย 2 แห่ง โดยจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่หาได้ง่ายและไม่มีสิ่งกีดขวาง ที่สำคัญจะต้องไม่เป็นบันไดเวียนเนื่องจากไม่สะดวกในขณะวิ่งลงมา สำหรับตึกที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปหรือลึกกว่า 7 เมตร ต้องจัดให้มีบันไดหนีไฟมาสู่พื้นดินด้วย ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ไม่ควรใช้บันไดภายในอาคารและบันไดเลื่อน เพราะบันไดเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันควันไฟและเปลวไฟได้ และห้ามใช้ลิฟท์เด็ดขาดเพราะลิฟท์จะหยุดทำงาน
3.8 วัสดุที่เหมาะสมสำหรับผนังบันไดหนีไฟ
      ผนังและประตูของช่องบันไดหนีไฟภายในตัวอาคารสูงต้องทำจากวัสดุทนไฟ และต้องเป็นวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดควันไฟ เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กหรือผนังก่ออิฐทนไฟ เพื่อปิดกั้นไม่ให้เปลวไฟหรือควันไฟเข้าไปในบริเวณช่องบันได
3.9 ระบบควบคุมควันในช่องบันได
     ในช่องบันไดจะต้องมีช่องหน้าต่างเพื่อการระบายควันหรือระบบอัดอากาศเพื่อช่วยเพิ่มความดันในช่องบันไดให้สูงกว่าภายนอกเป็นการป้องกันควันไม่ให้เข้าไปในช่องบันได
3.10 ลักษณะที่ดีของประตูหนีไฟ
       บันไดหนีไฟที่อยู่ในตัวอาคารจะต้องจัดให้มีผนังกันไฟโดยรอบ โดยเฉพาะตรงบานประตูนอกจากจะทำจากวัสดุทนไฟแล้วยังต้องเป็นลักษณะแบบผลักเข้าสู่ด้านในของบันไดหนีไฟ เพื่อความสะดวกในการถ่ายเทผู้คนออกจากตัวอาคาร ยกเว้นในกรณีที่เป็นทางออกชั้นล่างสุดหรือดาดฟ้า ต้องเป็นแบบชนิดผลักออกเพื่อให้หนีออกจากตัวอาคารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประตูทุกบานควรตั้งอุปกรณ์บังคับให้ประตูปิดได้เองอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้ควันและไฟลุกลามเข้ามา
3.11 ป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟ
       ช่องบันไดหนีไฟที่อยู่ภายในตัวอาคารจะต้องจัดให้มีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน พร้อมทั้งมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งด้านในและด้านนอกของบันไดหนีไฟทุกชั้น เพื่อป้องกันการหนีออกผิดชั้นโดยเฉพาะในตึกสูงที่มีชั้นใต้ดิน ป้ายบอกชั้นจะช่วยให้ผู้หนีไฟทราบว่าตอนนี้อยู่ที่ชั้นล่าง และมีทางออกสู่ภายนอก
3.12 ดาดฟ้าบนอาคารสูง
        ดาดฟ้าสามารถใช้เป็นทางหนีไฟที่ต่อเนื่องมาจากบันไดหนีไฟในตัวอาคาร โดยจัดให้เป็นที่โล่งและมีความกว้าง 10x10 เมตร

4. รายละเอียดการตรวจสอบ
    4.1 บันไดหนีไฟ และทางหนีไฟ
          1) ตรวจสภาพราวจับ และราวกันตก
          2) ตรวจความสว่างในช่องบันได
          3) ตรวจว่าไม่มีสิ่งกีดขวาง ตลอดเส้นทางในช่อง บันได จนถึงภายนอกอาคาร
          4) ตรวจสภาพการปิด-เปิดของประตูหนีไฟ
          5) ตรวจว่ามีการชำรุดเสียหายของขั้นบันไดหรือไม่

รูปที่ 1 ตรวจสอบบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟ

    4.2 เครื่องหมายและป้ายทางออกฉุกเฉิน
          1) ตรวจสอบการทำงานในสภาวะปกติ และสภาวะฉุกเฉิน
          2) ตรวจสอบว่ามีการดูแล และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
รูปที่ 2 ตรวจสอบเครื่องหมายและป้ายทางออกฉุกเฉิน

     4.3 ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
           1) ตรวจสอบการทำงานในสภาวะปกติ และสภาวะฉุกเฉิน
           2) ตรวจสอบจุดระบายควัน และจุดนำเข้าของอากาศบริสุทธิ์
           3) ตรวจสภาพเครื่องจักร และห้องเครื่องว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
           4) ตรวจสอบว่ามีการดูแล และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

                          รูปที่ 3 ตรวจสอบระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน

      4.4 ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
            1) ตรวจสอบการทำงานในสภาวะปกติ และสภาวะฉุกเฉิน
            2) ตรวจสอบความเพียงพอของการจ่าย ไฟสำรองให้กับเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับการช่วยชีวิต
            3) ตรวจสภาพเครื่องจักร และห้องเครื่องว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น
                 (1) สภาพและความพร้อมของแบตเตอรี่
                 (2) สภาพและความพร้อมของน้ำมันเชื้อเพลิง
                 (3) การระบายอากาศของเครื่องยนต์ ขณะทำงาน
                 (4) ตรวจสอบว่ามีการดูแลทดสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
รูปที่ 4 ตรวจสอบระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

       4.5 ระบบลิฟต์ดับเพลิง
             1) ตรวจการทํางานเมื่อได้รับสัญญาณ จากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
             2) ตรวจสภาพโถงลิฟต์ การกันป้องกันไฟ และควันไฟ
             3) ตรวจความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิงในโถงลิฟต์
             4) ตรวจการป้องกันน้ำไหลลงสู่ช่องลิฟต์
             5) ตรวจสอบว่ามีการดูแล ทดสอบ และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

รูปที่ 5 ตรวจสอบระบบลิฟต์ดับเพลิง

       4.6 ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
             1) ตรวจสอบการทำงานในสภาวะปกติ และสภาวะฉุกเฉิน
             2) ตรวจสอบความเหมาะสมของอุปกรณ์ตรวจจับในพื้นที่
             3) ตรวจสอบลำดับการทำงาน (Fire Sequence) ของเครื่องจักรอุปกรณ์ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
             5) ตรวจสอบว่ามีการดูแล ทดสอบ และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เช่น
                 (1) ระบบแบตเตอรี่สำหรับจ่ายไฟตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
                 (2) การปิดระบบเนื่องจากมี Fault Alarm เป็นต้น

รูปที่ 6 ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

       4.7 ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
             1) ตรวจสอบความเหมาะสมของอุปกรณ์ ดับเพลิงในพื้นที่ เช่น ความสูงของถังดับเพลิง ฯลฯ
             2) ตรวจสอบว่ามีการดูแล และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

รูปที่ 7 ตรวจสอบระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง

       4.8 ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
             1) ตรวจสอบการทำงานในสภาวะปกติและสภาวะฉุกเฉิน
             2) ตรวจสอบความเหมาะสมของประเภทและจำนวนหัวฉีดน้ำดับเพลิงในพื้นที่
             3) ตรวจสอบว่ามีการดูแล ทดสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เช่น
                  (1) การทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเป็นระยะๆ
                  (2) สภาพและความพร้อมของแบตเตอรี่
                  (3) สภาพและความพร้อมของน้ำมันเชื้อเพลิง
                  (4) ระดับความดัน และการเปลี่ยนแปลงของระบบจ่ายน้ำดับเพลิง

รูปที่ 8 ตรวจสอบระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง

        4.9 ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
              1) ตรวจสอบการทำงานในสภาวะปกติและสภาวะฉุกเฉิน
              2) ตรวจสอบว่ามีการดูแล ทดสอบ และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
รูปที่ 9 ตรวจสอบระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

         4.10 ระบบป้องกันฟ้าผ่า
                1) ตรวจสอบระบบตัวนําล่อฟ้าตัวนําต่อลงดิน
                2) ตรวจสอบระบบรายสายดิน
                3) ตรวจสอบจุดต่อประสานศักย์
                4) ตรวจสอบว่ามีการดูแล ทดสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

รูปที่ 10 ตรวจสอบระบบป้องกันฟ้าผ่า

5. สรุป
       หากเราเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตัวในการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารสูงแล้วอันตรายก็จะไม่เกิดขึ้นกับเรา เพราะเราไม่มีวันรู้ว่าเหตุการณ์เลวร้ายจะเกิดขึ้นกับชีวิตเมื่อไร เราจึงไม่ควรประมาทกับชีวิตเลยสักวินาทีเดียว ดังนั้น ควรให้มีการกำหนดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (Safety Office) ประจำอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษหลังละอย่างน้อย 1 คน เจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยเพื่อให้มีความเข้าใจในการใช้อาคาร และอุปกรณ์ภายในอาคารอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัย และเมื่อเกิดความบกพร่องในระบบความปลอดภัยภายในอาคารจะต้องทราบและสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้

กิตติกรรมประกาศ
      จากการได้ศึกษาสาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงส่วนของวิชาสัมมนา ขอขอบคุณอาจารย์และนักศึกษา ทุกท่านที่ได้นำเสนอความรู้ในห้องเรียนด้านการตรวจสอบอาคารจึงได้นำมาประกอบการเขียนบทความนี้

เอกสารอ้างอิง
[1] วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2551. คู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย. จำนวน 4,000 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท โกลบอล กราฟฟิค จำกัด.
[2] กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, 2552. มาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัย :ไม่ระบุ สำนักพิมพ์.
[3] คุณศราวุฒิ (กรองตรวจความปลอดภัย), การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการและอาคารสูง, ไม่ระบุเลขหน้า. ไม่ระบุสำนักพิมพ์ :

 ประวัติผู้เขียน
อนุชิต แก้วกลึงกลม
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง